ควรรู้!! ก่อนผจญภัยบนเรือยาง ล่องแก่งสุดโหด!!

เมืองไทยมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนท่ามกลางผืนป่าใหญ่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของพืชพรรณไม้และสัตว์ป่า ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นต้นกำเนิดของเส้นทางสายน้ำที่สำคัญ ซึ่งสมัยก่อนชาวบ้านจะใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำโดยการใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นแพล่องลำน้ำ อาจถือได้ว่าเป็นพาหนะทางน้ำอันแรกของประเทศไทย โดยภายหลังได้มีการพัฒนาให้เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยเชิงนิเวศ “ล่องแก่ง” ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นทั้งจากในและต่างประเทศ เพราะให้ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และท้าทายความสามารถของนักท่องเที่ยว รวมทั้งยังได้เห็นทัศนียภาพธรรมชาติอันร่มรื่นสวยงามทั้งสองฝั่งลำน้ำสร้างความเบิกบานใจให้แก่ผู้ที่จำเจจากภารกิจประจำวัน

009

ปัจจุบันได้มีการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานตามสากลเพื่อความปลอดภัยและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีการนำเรือยางเข้ามาใช้ทดแทนการสร้างแพจากไม้ไผ่ซึ่งเป็นวิถีทางท่องเที่ยวใหม่ที่ หยุดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากอุทยานฯ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่แหล่งล่องแก่งส่วนใหญ่ในเรื่องความปลอดภัยและการกู้ภัย

awb_image2042550113508

มาตรฐานของกิจกรรมล่องแก่ง

ทางกรมการท่องเที่ยวได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานให้ผู้ประกอบการ และเจ้าของพื้นที่กิจกรรมล่องแก่งได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกิจการให้อยู่ในระดับ มาตรฐานสากล เพื่อรับรองความปลอดภัยและสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยว ที่มาล่องแก่ง ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.tourism.go.th

 Image

ข้อควรปฏิบัติในการล่องแก่ง

ก่อนจะไปล่องแก่งควรเตรียมตัวสำหรับการเดินทางให้เหมาะสม เพื่อให้ได้รับความสนุกสนาน ความปลอดภัย โดยไม่ส่งผลกระทบกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

chiangmai-white-water-rafting-tour-adventure

การกู้ภัย การช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุ

การล่องแก่งเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่มีกระแสน้ำแรงและไหลเชี่ยว ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมในการกู้ภัยให้ได้มาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการล่องแก่งและหน่วยงานพื้นที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งวิธีการกู้ภัยทางน้ำมี 2 ลักษณะ ดังนี้

  • พยายามว่ายน้ำเข้าหาเรือ เข้าฝั่ง หรือจุดไหนที่น่าจะปลอดภัยให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับอันตรายจากกระแสน้ำและแก่งหิน
  • หากตกในกระแสน้ำเชี่ยว ไม่ควรรีบเกาะเรือยางเพราะกระแสน้ำจะพัดพาเรือไปด้วยความเร็ว อาจได้รับอันตรายจากโขดหินหรือกิ่งไม้
  • หากไม่มีโอกาสว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง พยายามตั้งสติ และหาที่ยึดเกาะเพื่อรอเรือ หรือทีมช่วยเหลือมารับขณะที่กำลังถูกน้ำพัดไปเรื่อยๆ ให้ลอยตัวในลักษณะนอนหงาย และเหยียดขาไปตามด้านที่กระแสน้ำไหล
  • เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองจากการกระแทกของหิน และค่อยๆ เตะขาในน้ำ เพื่อช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำที่พัด อย่างอเข่าหรือคว่ำหน้าเพราะจะทำให้ร่างกายไปกระแทกกับสิ่งที่อยู่ใต้น้ำได้

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : http://adventure.tourismthailand.org/ , www.sportsht.com ,www.thaitourgroup.com , www.sportsht.com , travel.sanook.com , www.manager.co.th