เชิญเที่ยวงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควและงานกาชาดจังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 28 พฤศจิกายน- 7 ธันวาคม ประจำปี 2558

งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว  จัดในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการสร้างทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแสดงนิทรรศการในทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และการแสดง แสง สี เสียง บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว งาน เทศกาลนี้ยังมีการแสดงหลากหลายเข้ารวม มีสินค้า สนามเกม งานเทศกาล งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว เชิญทุกท่านรวมชมและสนุกกับการช้อปปิ้ง

5

 

 

กาญจนบุรีดินแดนที่มีหน้าบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาตลอดทุกยุคสมัย และนักท่องเที่ยวน้อยคนนัก ที่จะไม่เคยเดินทางมาสัมผัสกับดินแดนแห่งนี้ ปัจจุบันกาญจนบุรีก็ยังคงมีมนต์เสน่ห์อยู่ไม่เสื่อมคลาย ด้วยความสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ประเพณี และวิถีชีวิตชุมชนที่หลากหลาย รวมถึงร่องรอยประวัติศาสตร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บทเรียนราคาแพงจากความโหดร้ายของสงคราม อันเป็นที่มาของสะพานข้ามแม่น้ำแคว และทางรถไฟสายมรณะที่โด่งดังไปทั่วโลก สะพานข้ามแม่น้ำแคว อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของโลก เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายมรณะที่สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์ทั้งเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร และกรรมกรเรือนหมื่น เพื่อก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ไปสู่ประเทศพม่า ด้วยระยะทางยาว กว่า 415 กิโลเมตร ฝ่าป่าดงดิบที่รกชัฏ ทะลุผ่านภูเขาหิน เลียบเลาะริมหน้าผาสูงชัน ด้วยความยากลำบาก ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งต้องสร้างข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่ ตำบลท่ามะขาม จึงเรียกว่า “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” ปัจจุบันเส้นทางรถไฟสายนี้ไปสิ้นสุดที่สถานีน้ำตก อำเภอไทรโยค ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดบริการเดินรถไฟบนเส้นทางสายนี้เป็นประจำทุกวัน (น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น, น้ำตกแควใหญ่, กิจกรรมขี่ช้างล่องแพไม่ไผ่)

การเดินทาง

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเพชรเกษม ( ทางหลวงหมายเลข 4 ) มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี ( ทางหลวงหมายเลข 338 ) มุ่งหน้าสู่นครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
ทั้งสองเส้นทางด้านบนจะต้องผ่านแยกนครชัยศรี
จากแยกนครชัยศรี ขับตรงไป โดยจะผ่านสะพานไปบ้านแพ้ว ผ่านสะพานไปตัวเมืองนครปฐม ผ่านแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี จากนั้นจะถึงสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ( สะพานนี้จะอยู่เลนซ้ายสุด )
จากแยกนครชัยศรี – สะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี.. ระยะทางประมาณ 24.4 กิโลเมตร
มื่อถึงสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ให้ขับขึ้นสะพานไป หลังลงสะพานแล้ว จากนั้นขับตรงไปประมาณ 11.2 กิโลเมตร จะพบสี่แยก ( แยกซ้ายไปบ้านโป่ง ตรงไปไปถ้ำค้างคาว เลี้ยวขวาไปกาญจนบุรี ) ให้เลี้ยวขวา แล้วขับตรงไป ประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงตัวอำเภอท่ามะกา จากนั้นให้ขับตรงไปประมาณ 18.5 กิโลเมตร จะถึงแยกซ้ายไปตัวอำเภอท่าม่วง ไม่ต้องเลี้ยว ให้ขับตรงไปประมาณ 11.1 กิโลเมตร จะผ่านศาลากลางจังหวัด ซึ่งอยู่ด้านขวามือ จากนั้นขับตรงไป ประมาณ 2.4 กิโลเมตร จะผ่าน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลาง เขต 1 ( ททท ) ซึ่งอยู่ด้านขวามือของท่าน เลยจาก ททท ไปประมาณ 200 เมตร ทางด้านขวามือของท่าน คือ สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นขับตรงไปประมาณ 3.9 กิโลเมตร จะถึงแยกซ้ายมือเข้า สะพานข้ามแม่น้ำแคว จากนั้นเลี้ยวซ้าย แล้วขับตรงไปประมาณ 700 เมตร ก็จะถึง สะพานข้ามแม่น้ำแคว
ทางรถโดยสารประจำทาง

จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ กรุงเทพฯ – กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยสามารถนั่งรถปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี แล้วไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี
จากขนส่งกาญจนบุรีนั่งรถสายกาญจนบุรี – เอราวัณ หรือรถสายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ – สังขละบุรี ( ค่าโดยสาร 5 บาท ) ไปลงตรงแยกซ้ายมือเข้าสะพานข้ามแม่น้ำแคว จากนั้นนั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างเข้าไปประมาณ 700 เมตร ( ค่าโดยสาร 10 บาทสำหรับมอเตอร์ไซต์รับจ้าง )
ทางรถไฟ

โดยสารขบวนรถไฟประจำ ธนบุรี – น้ำตก หรือขบวนรถนำเที่ยวพิเศษ กรุงเทพ – น้ำตก (เฉพาะเสาร์ – อาทิตย์) ลงที่ สะพานแควใหญ่ ซึ่งอยู่ที่เชิงสะพานข้ามแม่น้ำแควพอดี

ระยะทางจากแยกนครชัยศรี – สะพานไปบ้านแพ้ว ประมาณ 8.5 กิโลเมตร
ระยะทางจากสะพานไปบ้านแพ้ว – สะพานไปตัวเมืองนครปฐม ประมาณ 0.5 กิโลเมตร
ระยะทางจากสะพานไปตัวเมืองนครปฐม – แยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 6.4 กิโลเมตร
ระยะทางจากแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี – สะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร

ข้อมูลการติดต่อ : ปกครองจังหวัดกาญจนบุรี โทร.0 3451 1326 สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1778
ททท. สำนักงานกาญจนบุรีTel. +66 3451 1200, +66 3451 2500

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : http://thai.tourismthailand.org/